บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการการเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ออทิสติกคืออะไร
ในทางการแพทย์ ภาวะออทิสซึม (Autism) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจาก
สมองผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้จะอยู่แต่ในโลกของตนเอง และขาดความสนใจที่จะมีสังคมร่วมกับคนอื่น
เราเรียกเด็กที่เป็นโรคออทิสซึม ว่า “เด็กออทิสติก” สมองที่ผิดปกติทำให้เด็กแสดงความบกพร่องออกมา
๓ ด้านใหญ่ๆ ได้แก่
๑. ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่แสดงสีหน้าท่าทางในการตอบรับและสื่อสารกับ
ผู้อื่น ไม่สบตา เรียกไม่หัน
๒. ความบกพร่องในการสื่อสาร เช่น พูดช้าหรือไม่พูดและไม่มีความพยายามในการสื่อสาร
พูดตามหรือพูดสลับคำ
๓. การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น หมกมุ่นอยู่กับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ไม่เหมาะสมหรือทำซ้ำๆ มากเกินไป ยึดติดกับขั้นตอนในการทำกิจวัตรประจำวัน
สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะหรือโรคออทิสซึ่มที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก
ปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้สมองผิดปกติทั้งโครงสร้างและการ
ทำงาน โดยความผิดปกติส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่ตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ของแม่
ประเทศไทยมีรูปแบบในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกอย่างไร
วิธีการที่นิยมใช้ฝึกเด็กออทิสติกในประเทศไทย คือ เน้นฝึกความสามารถของเด็กเป็น
ส่วนๆ โดยให้เด็กทำในสิ่งที่คิดว่าควรทำได้ตามวัย เช่น เรียนรู้เรื่องสี เรื่องรูปทรง เรื่องการใช้คำพูด
โดยให้เด็กทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จนเด็กท่องจำได้ หรือเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิธีให้รางวัลหรือ
ทำโทษ แนวคิดการฝึกมุ่งหวังเตรียมความพร้อมให้เด็กเข้าโรงเรียนโดยลืมที่จะให้ความสำคัญเรื่อง
พัฒนาการขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ทักษะชีวิตด้านต่างๆ เช่น สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น
ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ การแสดงออกทางอารมณ์และการสื่อสารที่เหมาะสม การฝึกในรูปแบบนี้ช่วยให้
เด็กออทิสติกหลายคน “ดูคล้าย” เด็กทั่วไปแต่มักจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป คำพูดและกิริยา
อาการของเด็กมักจะขาดมิติทางสังคม ไม่มีชีวิตชีวา ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่เป็นธรรมชาติ
โดยฝึกกับนักบำบัดหลายสาขา
นักจิตวิทยาส่งเสริมให้เอเรียนรู้เรื่องสีและรูปทรงโดยให้จับภาพคู่ที่
เหมือนกัน
Floortime and Learn :
ส่งเสริมทักษะชีวิต เด็กพิเศษ
ด้วยการเล่น
๓๖สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
๑๐ ปี ทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญญาของครอบครัว
นักฝึกพูดส่งเสริมให้เอหัดพูดเป็นประโยคเวลาบอกความต้องการ
โดยให้เอดูภาพแล้วฝึกพูดตาม
นักกายภาพช่วยฝึกเอให้หัดกระโดดและเดินทรงตัวบนท่อนไม้ไม่ให้ล้ม
น้องเอสามารถทำตามที่ครูฝึกได้
อย่างดี
เมื่อกลับมาบ้าน
น้องเอมักจะนั่งเฉยๆ
ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำกิจกรรมใดๆ
ไม่ค่อยมี
อารมณ์สนุกสนานหรือความรู้สึกอยากทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตัวเองเหมือนเด็กคนอื่นๆ“
การส่งเสริมพัฒนาการและทักษะชีวิตผ่านการเล่นและพูดคุยกับเด็ก(DIR/Floortime Model)
Dr.Stanley Greenspan ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชเด็กจาก George Washington University
ได้นำเสนอรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและเด็กกลุ่ม
ออทิสติก เรียกว่า Developmental - Individual - Difference Relationship - Based (DIR) Model
โดยเน้นให้ความสำคัญเรื่องทักษะชีวิตทั้งด้านการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร การคิด และความเข้าใจเรื่อง
อารมณ์ ดังนี้
• Developmental พัฒนาการของการมีปฎิสัมพันธ์ การสื่อสาร และการคิด โดยมีความต้องการ
และอารมณ์เป็นแรงจูงใจ
• Individual - Difference ความแตกต่างของระบบการรับรู้ การประมวลข้อมูลและการสั่ง
การกล้ามเนื้อของเด็กแต่ละคน
• Relationship - Based ใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับเด็กเป็นสำคัญ
๑. Floortime เป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมาชิกในครอบครัวใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในบรรยากาศ
ที่อบอุ่น เป็นสุข สนุก และรู้สึกปลอดภัย พ่อแม่หรือผู้ดูแลใช้เวลากับเด็ก (เช่น เล่นด้วยกัน ทำกิจกรรม
ในชีวิตประจำวันร่วมกัน พูดคุยสนทนา) โดยมีจุดมุ่งหมายชัดเจนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
• กิจกรรมที่เลือกเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจและตรงกับระดับพัฒนาการ เด็กเป็นผู้นำและคิด
กิจกรรม ส่วนพ่อแม่คอยหาจังหวะหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กคิดแก้ปัญหา สื่อสารโต้ตอบ
ต่อเติมความคิดและอารมณ์ซึ่งกันและกัน
• เด็กเกิดความรู้สึกสนุก สนใจ เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองเกิดกระบวนการ
เรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการที่มีประสิทธิภาพ เพราะเกิดจากความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก
ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
๒. การฝึกทักษะที่บ้าน เป็นการฝึกที่ผู้ใหญ่เป็นผู้ริเริ่ม เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาความสามารถ
ใหม่ๆ ได้แก่
• การช่วยเหลือตัวเองและการฝึกทักษะพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น ความเข้าใจภาษา การพูด
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก (ตามคำแนะนำที่ได้จากนักวิชาชีพ)
• การฝึกเพื่อแก้ไขความบกพร่องพื้นฐานของสมอง
o Visual and spatial processing เช่น การมองหาของเล่น การเอื้อมหยิบของ
จากทิศทางต่างๆ เล่นโยนบอล ไล่ตามแสงไฟฉาย
o Auditory processing หัดรับฟังเสียงที่หลากหลาย ฝึกการทำความเข้าใจคำสั่งที่
ซับซ้อน ฝึกการตอบคำถาม
o Motor planning and sequencing เช่น การเพิ่มขั้นตอนการเล่นให้ซับซ้อนขึ้น
ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว เช่น วิ่งเร็ว - ช้า เกมไฟแดงไฟเขียว เกมจับมือกัน
เบาๆ แรงๆ
o กิจกรรม Sensory เช่น การเล่นชิงช้า การกระโดดบนแทมโบลีน การทรงตัวบน
ลูกบอล การนวด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น