วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2556
อาจารย์สอนเกี่ยวกับลักษณะของเด็กพิเศษ การดูแล การส่งเสริม
บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handcapped) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภท ในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้นหรือเด็กอาจจะมีปัญหาในด้านการเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การได้ยิน และการมองเห็น เด็กแต่ละคนที่มีความพิการซ้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เด็กบางคนไม่มีความพิการมากนัก เช่น เด็กที่สูญเสียทางการได้ยินระดับปานกลาง และสายตาเรือนลาง ถ้าลูกของคุณเป็นแบบนี้คุณสามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารฉบับอื่นประกอบเพื่อพัฒนาลูกของคุณในการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บ่อยครั้งที่มีความพิการซ้อนมีปัญหาหลากหลายรูปแบบ เด็กจะมีการพัฒนาที่ช้ามากเพราะว่าเขามีปัญหาหลายเรื่อง พ่อแม่ต้องอดทนและไม่ควรคิดว่าเด็กต้องทําได้มากกว่าความสามารถของเขา แต่ควรจําไว้ว่าเด็กนั้นสามารถพัฒนาได้ ถ้าใช้เป้าหมายที่เล็กน้อยและเด็กมีความสามารถจะทําได้เด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
บุคคลพิการซ้อน
สาเหตุของความพิการซ้อน
สาเหตุของความพิการซ้อนสาเหตุมีหลายประการ บางคนบกพร่องตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุของสภาพความพิการซ้อนที่แน่ชัด
1.ก่อนคลอดอาจจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
2.ระหว่างคลอดอาจจะมีการขาดออกซิเจน
3.หลังคลอดได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ
4.สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสายตา
ลักษณะเด็กพิการซ้อน
1. มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเองเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรง มักมีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเองคือ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวันได้ หรือช่วยได้แต่ไม่ดี เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกต้อง การควบคุมปัสสาวะการดูแลความสะอาดของร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นในการจัดโปรแกรมการศึกษาสําหรับเด็กประเภทนี้จําเป็นต้องฝึกทักษะในการช่วยเหลือตนเองให้แก่เด็ก
2. มีปัญหาในการสื่อสารการสื่อสาร เป็นปัญหาที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งของเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง กล่าวคือ เด็กเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เช่นไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ ไม่เข้าใจเมื่อผู้อื่นต้องการสื่อสารด้วย บางคนไม่สามารถพูดได้ ไม่สามารถใช้ท่าทางประกอบความพยายามในการสื่อสารได้ เป็นต้น เนื่องจากข้อจํากัดเหล่านี้ทําให้การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรงเป็นไปด้วยความลําบาก ครูต้องใช้สื่อในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ภาพ สื่อสาร เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญาอ่อน
ปัญหาในการเคลื่อนไหว
ปัญหาในการเคลื่อนไหวเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง บางคนไม่สามารถนั่งได้ ไม่สามารถเดิน หรือวิ่งได้ด้วยตนเอง บางคนมีปัญหาในการใช้มือ เพื่อหยิบจับสิ่งของต่างๆหากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกวิธีตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดชีวิต4. มีปัญหาทางพฤติกรรมเด็กกลุ่มนี้อาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน พฤติกรรมบางอย่างที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไร้ความหมายและพฤติกรรมที่ซํ้าๆ ในลักษณะเดิม เช่น การโยกตัวไปมา การกางนิ้วมือ แล้วเคลื่อนที่ไปมาใกล้ๆ ใบหน้า การบิดตัวไปมา เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมในการกระตุ้นตนเอง เช่น กัดฟัน การลูบไล้ตามร่างกายตนเอง การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง บางคนอาจมีพฤติกรรมในการทําร้ายตนเอง เช่น การโขกศีรษะตนเองการดึงผมตนเอง การชกต่อย ข่วนหรือกัดตนเอง เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง ดังนั้นในการจัดการศึกษาให้กับเด็กประเภทนี้ จึงควรมุ่งปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาแต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและออทิสติก
ปัญหาทางสังคม
ปัญหาทางสังคมเด็กปกติทั่วไปมักชอบเล่นซุกซน และสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ แต่เด็กพิการซ้อนส่วนมากมีปัญหาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น บางคนอาจไม่แสดงปฏิกริยาใดๆ ต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นอันตราย ไม่สนใจ และไม่เอาใจใส่สิ่งใดๆ เด็กพิการซ้อนอาจเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ละบุคคล แต่เด็กที่หูหนวก และตาบอด จัดว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงเด็กที่มีความบกพรองทางร่างกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญา
การดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง
การดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง มุ่งเน้นการช่วยตัวเองในชีวิตประจําวัน เช่นการแต่งตัว การรับประทานอาหาร การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระการอาบนํ้าเป็นต้นการสื่อสาร เป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น การทักทาย การบอกความต้องการของตนเอง การรับรู้ความต้องการของผู้อื่น ตลอดจนการสื่อสารโดยใช้ภาษาหรือท่าทางเป็นสื่อกลางในการสื่อสารอีกการเคลื่อนไหว ทักษะในการเคลื่อนไหวที่จําเป็นสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง ควรมุ่งเน้นทั้งการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งจะช่วยให้เด็กมีทักษะในการประกอบกิจวัตรประจําวันได้เร็วขึ้นการปรับพฤติกรรม เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรงแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงควรมุ่งขจัดหรือบรรเทาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และสร้างหรือส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์พัฒนาการทางสังคม เช่นการเล่น การบอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทักษะในห้องเรียนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
การช่วยเหลือระยะเริ่มแรก
1. ช่วยถ่ายทอดการเรียนรู้ จากโรงเรียนไปยังบ้านและจากบ้านไปยังโรงเรียน
2. ผู้ปกครองและครูจําเป็นต้องมีความหวังอย่างเดียวกันเกี่ยวกับเด็กไม่เช่นนั้นแล้วเด็กจะรู้สึกสับสน
3. เด็กพิการสามารถเรียนรู้ทักษะเฉพาะได้เร็วขึ้นได้เกือบสองเท่า หากผู้ปกครองร่วมมือกันในการสอน
4. นําทักษะและความรู้ต่างๆ จากโรงเรียนไปใช้ที่บ้านได้
5. ช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ขัดขวางการเรียนของเด็ก
6. ผู้ปกครองเด็กพิการซ้อนจําเป็นต้องเน้นทักษะในการสอนเลี้ยงดูมากกว่าผู้ปกครองเด็กทั่วไป
7. ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเด็กได้ดีที่สุด
8. ให้แรงเสริมในระหว่างที่เด็กกําลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้
9. ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
10. ช่วยปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
11. ผู้ปกครองและครู ควรมีการวางแผนการแก้ไขและการฝึกทักษะร่วมกัน
12. ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง แล้วหาทางแก้ไขร่วมเช่น กําหนดกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วยเด็กพิการซ้อนเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางการได้ยิน
การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน
การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน จะต้องคํานึงถึงระดับความบกพร่อง ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน และจะต้องมีการประสานส่งต่อช่วยเหลือกับนักวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพความบกพร่องของแต่ละบุคคล การช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
1.การพัฒนาและฟื้นฟสมรรถภาพความพิการู
1.1 การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการด้านต่างๆจะต้องจัดให้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม อาทิ การกายภาพบําบัด เช่น การฝึกยืน ฝึกเดิน ฝึกการเคลื่อนไหวและการใช้อุปกรณ์ เป็นต้น การฝึกกิจกรรมบําบัดได้แก่ การฝึกกิจวัตรประจําวัน ฝึกการใช้มือหรืออวัยวะส่วนที่เหลือให้เต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคล ฝึกการพูด ฝึกการสื่อสาร การปรับพฤติกรรมเพื่อให้เรียนรู้ได้การฝึกเข้าสังคม เพื่อให้ปรับตัวและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และใกล้เคียงกับคนทั่วไป
1.2 การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวก ต้องจัดให้เหมาะสมกับความต้องการจําเป็นของแต่ละบุคคล เช่น ห้องนํ้า ประตูพื้น ราวจับบันได ทางลาด และถนนต่อเชื่อมอาคารต่างๆ เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
2.แนวทางการจัดการเรียนการศึกษาสําหรับเด็กพิการซ้อนได้แก่
(1) การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม คือการจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนเรียนร่วมกับบุคคลทั่วไป ในระบบโรงเรียนตามศักยภาพและความต้องการของแต่ละบุคคล
(2) การจัดการศึกษาแบบการศึกษาในโรงเรียนพิเศษ คือ การจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถไปเรียนร่วม ได้เรียนในโรงเรียนเฉพาะประเภทความพิการ
(3) การจัดการศึกษาแบบการศึกษานอกระบบ คือการจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียน หรือโรงเรียนพิเศษ ได้แก่ บุคคลพิการซ้อนที่อยู่ตามบ้าน โรงพยาบาล ศูนย์การเรียนทั้งรัฐและเอกชน
(4) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย คือ การจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อน ที่ผู้ปกครองต้องการจัดการศึกษาให้ด้วยตนเองเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น