วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

 วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

หมายเหตุ วันนี้เป็นช่วงในการเตรียมการสอบปลายภาคโดยที่การสอบปลายภาคครั้งนี้อาจารย์ให้นำข้อสอบกลับไปทำที่บ้าน โดยที่เอาข้อมูลมาจากในห้องเรียน ตามที่จดในห้องเรียน โดยที่ห้ามค้นหาจากอินเตอร์เน็ต เด็ดขาด!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! ขอให้เพื่อนตั้งใจอ่านหนังสือสอบกันน่ะค่ะ สู้ๆค่ะ











บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557


การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้สอนถึงเรื่องเด็กพิเศษสภาวะการเรียนบกพร่อง  LD


สาเหตุของปัญหาการเรียน
     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
     ขาดโอกาสทางการศึกษา
     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

LD คืออะไร?
    ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
    ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน

พบบ่อยแค่ไหน?
    ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี  LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1

สาเหตุของ LD
    ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
    กรรมพันธุ์

ประเภทของ LD
          LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
          LD ด้านการอ่าน
          LD ด้านการคำนวณ
          LD หลายๆ ด้านร่วมกัน

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)
    ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
    เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
    เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
    เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
    เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
    เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
    จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
    สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
    เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
    เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
    ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง 

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)
    อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
    อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
    เดาคำเวลาอ่าน
    อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
    อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
    ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
    ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
    เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท

ประเภท (การคำนวณ)
    ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
    นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
    คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
    จำสูตรคูณไม่ได้
    เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
    ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
    ตีโจทย์เลขไม่ออก
    คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
    ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD
    หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
    ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ
    ต่อต้านแบบดื้อเงียบ
    ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน
    ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน
    ทำงานสะเพร่า
    ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง
    ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ
    ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง
    เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน
    รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น
    ไม่มั่นใจในตัวเอง
    มักตอบคำถามว่าทำไม่ได้ไม่รู้
    อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย
    ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)

ปัญหาการเรียน
    ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง
    ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัวอักษรสลับกัน
    ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
    ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
    ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก

อาการที่มักเกี่ยวข้องกับLD
     แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
     มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
     เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
     งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
     การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อ (visual-motor coordination) ไม่ดี
     สมาธิไม่ดี( เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
     เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
     ทำงานช้า
     การวางแผนงานและจัดระบบ (organize) ไม่ดี
     ฟังคำสั่งสับสน
    คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
    ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
    ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
    ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
    ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

การตรวจประเมิน
     โดยทั่วไปเราจะวินิจฉัย LD โดยดูความแตกต่างระหว่างสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนกับระดับสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเด็กจะเป็น LD ต่อเมื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านนั้นๆ ต่ำกว่าระดับสติปัญญา 2 ปี เช่น เด็กอายุ 10 ปี มี I.Q.=100 แต่ปรากฏว่าความสามารถในการอ่านเท่ากับเด็กอายุ 7 ปี หรือ เด็กอายุ 10 ปีที่มี I.Q.=130 แต่ความสามารถในการคำนวณเท่ากับอายุ 10 ปีเป็นต้น (เด็กควรทำได้สูงกว่านั้น)

จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?
    ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
    ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
    การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก

การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก


หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
    สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
    สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
    ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
    ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
    ใช้ประสบการณ์ตรง
    ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
    ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
    กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
    ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
    แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
    ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
    สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
    จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
    ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
    มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก

วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
     สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
     สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
     สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
     สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
     ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
     ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
     แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
     รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
     แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก  LD
     พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
     แสดงความรักต่อเด็ก
     มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
     อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
    ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
    มีความคาดหวังที่เหมาะสม
    เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
    อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น
     เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน
     อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน
     อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง











บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่  4 กุมภาพันธ์ 2557


การเรียนการสอน เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการการเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ออทิสติกคืออะไร
 ในทางการแพทย์ ภาวะออทิสซึม (Autism) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจาก
สมองผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้จะอยู่แต่ในโลกของตนเอง และขาดความสนใจที่จะมีสังคมร่วมกับคนอื่น
เราเรียกเด็กที่เป็นโรคออทิสซึม ว่า “เด็กออทิสติก” สมองที่ผิดปกติทำให้เด็กแสดงความบกพร่องออกมา
๓ ด้านใหญ่ๆ ได้แก่
 ๑. ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่แสดงสีหน้าท่าทางในการตอบรับและสื่อสารกับ
 ผู้อื่น ไม่สบตา เรียกไม่หัน
 ๒. ความบกพร่องในการสื่อสาร เช่น พูดช้าหรือไม่พูดและไม่มีความพยายามในการสื่อสาร
 พูดตามหรือพูดสลับคำ
 ๓. การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น หมกมุ่นอยู่กับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
 ที่ไม่เหมาะสมหรือทำซ้ำๆ มากเกินไป ยึดติดกับขั้นตอนในการทำกิจวัตรประจำวัน

สาเหตุเกิดจากอะไร
 ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะหรือโรคออทิสซึ่มที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก
ปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้สมองผิดปกติทั้งโครงสร้างและการ
ทำงาน โดยความผิดปกติส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่ตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ของแม่

ประเทศไทยมีรูปแบบในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกอย่างไร
 วิธีการที่นิยมใช้ฝึกเด็กออทิสติกในประเทศไทย คือ เน้นฝึกความสามารถของเด็กเป็น
ส่วนๆ โดยให้เด็กทำในสิ่งที่คิดว่าควรทำได้ตามวัย เช่น เรียนรู้เรื่องสี เรื่องรูปทรง เรื่องการใช้คำพูด
โดยให้เด็กทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จนเด็กท่องจำได้ หรือเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิธีให้รางวัลหรือ
ทำโทษ แนวคิดการฝึกมุ่งหวังเตรียมความพร้อมให้เด็กเข้าโรงเรียนโดยลืมที่จะให้ความสำคัญเรื่อง
พัฒนาการขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ทักษะชีวิตด้านต่างๆ เช่น สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น
ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ การแสดงออกทางอารมณ์และการสื่อสารที่เหมาะสม การฝึกในรูปแบบนี้ช่วยให้
เด็กออทิสติกหลายคน “ดูคล้าย” เด็กทั่วไปแต่มักจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป คำพูดและกิริยา
อาการของเด็กมักจะขาดมิติทางสังคม ไม่มีชีวิตชีวา ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่เป็นธรรมชาติ


โดยฝึกกับนักบำบัดหลายสาขา
นักจิตวิทยาส่งเสริมให้เอเรียนรู้เรื่องสีและรูปทรงโดยให้จับภาพคู่ที่

เหมือนกัน

Floortime and Learn :
 ส่งเสริมทักษะชีวิต เด็กพิเศษ
 ด้วยการเล่น
๓๖สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

๑๐ ปี ทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญญาของครอบครัว
นักฝึกพูดส่งเสริมให้เอหัดพูดเป็นประโยคเวลาบอกความต้องการ
โดยให้เอดูภาพแล้วฝึกพูดตาม

นักกายภาพช่วยฝึกเอให้หัดกระโดดและเดินทรงตัวบนท่อนไม้ไม่ให้ล้ม
น้องเอสามารถทำตามที่ครูฝึกได้
อย่างดี
เมื่อกลับมาบ้าน

น้องเอมักจะนั่งเฉยๆ
ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำกิจกรรมใดๆ
ไม่ค่อยมี

อารมณ์สนุกสนานหรือความรู้สึกอยากทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตัวเองเหมือนเด็กคนอื่นๆ“



การส่งเสริมพัฒนาการและทักษะชีวิตผ่านการเล่นและพูดคุยกับเด็ก(DIR/Floortime Model)


 Dr.Stanley Greenspan ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชเด็กจาก George Washington University
ได้นำเสนอรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและเด็กกลุ่ม
ออทิสติก เรียกว่า Developmental - Individual - Difference Relationship - Based (DIR) Model
โดยเน้นให้ความสำคัญเรื่องทักษะชีวิตทั้งด้านการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร การคิด และความเข้าใจเรื่อง
อารมณ์ ดังนี้
 • Developmental พัฒนาการของการมีปฎิสัมพันธ์ การสื่อสาร และการคิด โดยมีความต้องการ
 และอารมณ์เป็นแรงจูงใจ
 • Individual - Difference ความแตกต่างของระบบการรับรู้ การประมวลข้อมูลและการสั่ง
 การกล้ามเนื้อของเด็กแต่ละคน
 • Relationship - Based ใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับเด็กเป็นสำคัญ
 ๑. Floortime เป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมาชิกในครอบครัวใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในบรรยากาศ
ที่อบอุ่น เป็นสุข สนุก และรู้สึกปลอดภัย พ่อแม่หรือผู้ดูแลใช้เวลากับเด็ก (เช่น เล่นด้วยกัน ทำกิจกรรม
ในชีวิตประจำวันร่วมกัน พูดคุยสนทนา) โดยมีจุดมุ่งหมายชัดเจนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
 • กิจกรรมที่เลือกเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจและตรงกับระดับพัฒนาการ เด็กเป็นผู้นำและคิด
 กิจกรรม ส่วนพ่อแม่คอยหาจังหวะหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กคิดแก้ปัญหา สื่อสารโต้ตอบ
 ต่อเติมความคิดและอารมณ์ซึ่งกันและกัน
 • เด็กเกิดความรู้สึกสนุก สนใจ เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองเกิดกระบวนการ
 เรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการที่มีประสิทธิภาพ เพราะเกิดจากความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก
 ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
 ๒. การฝึกทักษะที่บ้าน เป็นการฝึกที่ผู้ใหญ่เป็นผู้ริเริ่ม เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาความสามารถ
ใหม่ๆ ได้แก่
 • การช่วยเหลือตัวเองและการฝึกทักษะพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น ความเข้าใจภาษา การพูด
 กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก (ตามคำแนะนำที่ได้จากนักวิชาชีพ)
 • การฝึกเพื่อแก้ไขความบกพร่องพื้นฐานของสมอง
 o Visual and spatial processing เช่น การมองหาของเล่น การเอื้อมหยิบของ
 จากทิศทางต่างๆ เล่นโยนบอล ไล่ตามแสงไฟฉาย
 o Auditory processing หัดรับฟังเสียงที่หลากหลาย ฝึกการทำความเข้าใจคำสั่งที่
 ซับซ้อน ฝึกการตอบคำถาม
 o Motor planning and sequencing เช่น การเพิ่มขั้นตอนการเล่นให้ซับซ้อนขึ้น
 ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว เช่น วิ่งเร็ว - ช้า เกมไฟแดงไฟเขียว เกมจับมือกัน
 เบาๆ แรงๆ
 o กิจกรรม Sensory เช่น การเล่นชิงช้า การกระโดดบนแทมโบลีน การทรงตัวบน
 ลูกบอล การนวด

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 21 มกราคม 2557

 หมายเหตุ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาคของรายวิชานี้





บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 21 มกราคม 2557


วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนกลุ่มที่ยังไม่นำเสนอ จากครั้งที่แล้วได้ออกมานำเสนอ แ้ววันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องพัฒนาการของเด็กพิเศษ หมายถึงอะไร
                                                           พัฒนาการหมายถึง

พัฒนาการ หมายถึง การศึกษาเรื่องลักษณะการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างต่างๆของร่างกายที่เด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปถึงรวมการเพิ่มของขนาดทางร่างกาย
        พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ในทางที่พึงปรารถนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ ทางสังคม  และทางสติปัญญา ซึ่งจะเกิดติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง
        พัฒนาการ หมายถึง   การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้าง   (Structure) และแบบแผน(Pattern) ของอินทรีย์ทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง เพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะทำให้อินทรีย์มีลักษณะและความสามารถใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี คำทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกล่าวคือ จะมีพัฒนาการเกิดขึ้นได้นั้นย่อมต้องอาศัยความเจริญเติบโตของร่างกายเป็นพื้นฐาน มนุษย์ทุกผู้ทุกนามถ้าไม่มีการเจริญเติบโตแล้วย่อมจะไม่มีความสามารถใดๆหรือลักษณะใหม่ใด ๆ เกิดขึ้นเลย
        คำว่า "ความเจริญเติบโต และพัฒนาการ" มีความหมายที่คล้ายกันคือ
        ความเจริญเติบโต ( Growth ) หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงในด้านขนาด รูปร่าง สัดส่วน ตลอดจนกระดูกและกล้ามเนื้อ เมื่อเราพูดถึงความเจริญเติบโตของมนุษย์
        จากความหมายดังกล่าวข้างต้นอาจสรุปคำว่า พัฒนาการมนุษย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตัวมนุษย์ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคมอย่างเป็นลำดับขั้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมจะมีลำดับขั้นตอนของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ และเมื่อร่างกายมีการเจริญเติบโตตามสัดส่วนที่ควรจะเป็นในช่วงอายุนั้นๆกระบวนการต่างๆ ที่ถึงพร้อมทั้งช่วงเวลาและ โครงสร้างทางร่างกายก็จะทำให้มนุษย์มีความสามารถที่จะกระทำได้และสามารถแสดงออกได้โดยระบบต่างๆ ของร่างกายโดยมีวุฒิภาวะเป็นตัวควบคุม โดยไม่ต้องเร่ง เมื่อร่างกายพัฒนาการถึงความสามารถทางด้านต่างๆ ก็จะเป็นได้เอง
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 14 มกราคม 2557

หมายเหตุ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง

                                                                ความรู้เพิ่มเติม


ความหมาย ประเภท ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
โดยสภาพทั่วไปในสังคมหากใครทำอะไร มีอะไร หรือปฏิบัติอะไรที่ไม่เหมือนกับสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมเรามักจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นคนที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้เพราะสังคมยอมรับและมีบรรทัดฐาน (norm) ที่เป็นตัวกำหนด หรือคาดการณ์ไว้ว่าทุกคนจะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ และบรรทัดฐานนี้เองจึงเป็นมาตรฐานให้สมาชิกของสังคมทำตามปฏิบัติตาม จนถือเป็นระเบียบแบบแผนแห่งพฤติกรรม หรือการกระทำของตน ดังที่เราคงจะเคยได้ยินได้ฟังเพื่อนๆ เรียกเราในบางครั้งว่าเป็นคนที่มีความ ต้องการพิเศษ เพราะเราทำอะไรได้บางอย่างไม่เหมือนเพื่อนๆ ในกลุ่ม
สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นเราก็อาศัยบรรทัดฐาน (norm) ที่มีการศึกษาค้นคว้าและบันทึกเอาไว้ว่าเมื่อเด็กเกิดมาแล้วจะต้องมีอะไรมีลักษณะอย่างไร และสามารถปฏิบัติอย่างไรได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคมบ้าง รวมไปถึงเรื่องของพัฒนาการหรือพฤติกรรมว่าเหมือนกับที่มีการศึกษาค้นคว้า
เอาไว้หรือไม่ หากเกิดมาและมีการเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ เราก็มักจะมีเรียกตามลักษณะที่ขาดหายหรือตามที่บกพร่องไป เช่น เด็กตาบอด เด็กปัญญาอ่อน เด็กแขนด้วน ขาด้วน เป็นต้น นั้นเป็นการเรียกกันตามสภาพ ที่เห็นว่าไม่เหมือนคนทั่วไป แต่ในทางวิชาการเรามักจะใช้การเรียกรวมๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากจะจำกัดความของคำว่า เด็กที่มีความต้อง การพิเศษ จะพบว่า มีความหมายที่กว้างมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พยายามที่จะจำกัดความหรือให้ความหมายคำว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจว่า เด็กที่มีความต้องการ พิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการ คือ
  1. ความบกพร่อง (Impairmant) หมายถึง มีการสูญเสียหรือมีความผิดปกติ ของจิตใจและสรีระหรือโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
  2. ไร้สมรรถภาพ (Disability) หมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาด ความสามารถอันเป็นผลมาจากความบกพร่อง จนไม่สามารถกระทำกิจ กรรมในลักษณะหรือภายในขอบเขตที่ถือว่าปกติ สำหรับมนุษย์ได้
  3. ความเปรียบเทียบ(Handicap) หมายถึงการมีความจำกัดหรืออุปสรรคกัด กั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องและการไร้สมรรถภาพที่จำกัดหรือขัด ขวางจนทำให้บุคคลไม่สามารถบรรลุการกระทำตามบทบาทปกติของเขา ได้สำเร็จ

จากขอบเขตดังกล่าว คำว่า" เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" จึงหมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาดความสามารถอันเป็นผลมา จากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการ กระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะ กับลักษณะ และความต้องการของเด็ก
คำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Children with special needs เป็น คำใหม่ และเพิ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการให้คำนิยามเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามลักษณะของการจัดให้บริการ โดยแยกลักษณะการให้บริการได้ดังนี้
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการ แก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถให้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่อง อาจหมดไป
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
องค์กรอนามัยโลก(WHO) แบ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษออก ดังนี้
1. แบ่งตามความบกพร่อง (Clssification of Impairment)
1.1 บกพร่องทางสติปัญญาหรือความทรงจำ (Intellegence or Memory Impairment) ปัญญาอ่อนเสียความทรงจำ ลืมเหตุการร์ที่ผ่านมาและปัจจุบัน
1.2 บกพร่องทางจิตอื่นๆ (Other Psychological Impairment) บกพร่องทางสติสัมปชัญญะหย่อนความสำนึก บพร่องทางความสนใจหรือการเข้าใจ นอนไม่หลับ
1.3 บกพร่องทางภาษาหรือการสื่อความหมาย (Language or Communication Impirment) พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด ไม่สามารถแสดงการติดต่อกับคนอื่นได้
1.4 บกพร่องทางการได้ยิน (Aural Impairment) หูตึง ได้ยินไม่ชัดเจนทั้งสองข้าง ได้ยินข้างหนึ่งและหนวกอีกข้างหนึ่ง
1.5 บกพร่องทางการมองเห็น (Ocular Impairment) เห็นไม่ชัดเจนทั้งสองข้าง บอดข้างหนึ่งเห็นเลือนลางข้างหนึ่ง
1.6 บกพร่องทางโครงกระดูก (Visceral Impairment) บกพร่องทางระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต บกพร่องทางระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย
1.7 บกพร่องทางโครงกระดูก (Skeletal Impairment) กระโหลกศรีษะ หัว ตัว แขน ขาไม่เป็นปกติ
1.8 บกพร่องทางแระสาทสัมผัส (Semsory Impairment) เสียความรู้สึกร้อน หนาว ความรู้ศึกลดน้อยกว่าปกติ สูญเสียความรู้สึกสัมผัส เจ็บ
1.9 อื่นๆ
2. ไร้ความสามารถ (Classification of Disabilities)
2.1 ไร้ความสามารถทางอุปนิสัย (Behaviour Disabilities) ไม่สามารถบอกเวลา สถานที่ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง เสียความสัมพันธ์กับครอบครัว
2.2 ไร้ความสามารถทางการสื่อความหมาย (Communication Disabilities) พูดได้แต่ไม่เข้าใจพูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ได้เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ได้
2.3 ไร้ความสามารถทางการดูแลตนเอง (Personal Care Disabilities) ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เข้าส้วม แต่งตัว กินอาหารได้เอง
2.4 ไร้ความสามารถทางการเคลื่อนไหว (Locomotor Disabilities) เช่น เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได ไม่ได้ตามปกติ
2.5 ไร้ความาสามารถทางความคล่องแคล่วของอวัยวะ (Decterity Disabilities)ไร้ความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่สามารถใช้นิ้วมือกำของ ถือของ หรือไม่สามารบังคับการไช้เท้า บังคับร่างกาย
2.6 ไร้ความสามารถทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Disabilities)
2.7 ไร้ความสามารถในสถานการณ์ ( Situational Disabilities)
3. แบ่งตามการเสียเปรียบ (Classificatio of Handicap)
3.1 เสียเปรียบทางความสำนึก (Orientation Handicap) ไร้ความสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมไม่สามารถเกี่ยวข้องกับผู้อื่น
3.2 เสียเปรียบทางกาย ไม่เป็นอิสระต้องพึ่งผู้อื่น (Physical independence Handicap) โดยแย่งตามความรุนแรงของความพิการ คือต้องพึ่งผู้อื่นทุกอย่าง
3.3 เสียเปรียบทางการเคลื่อนไหว (Mobility Handicap) แบ่งตามความรุนแรงของความพิการ
3.4 เสียเปรียบทางด้านกิจกรรม (Occupation Handicap) แบ่งตามความรุนแรงของความพิการได้แก่ พึ่งตนเองในการทำกิจกรรมได้น้อยมาก
3.5 เสียเปรียบทางด้านสังคม (Social Integration Handicap) ไม่สามารถเข้าสังคมทั่วไปได้ไม่สามารถร่วกิจกรรมกับเพื่อน
3.6 เสียเปรียบทางสภาพเศรษฐกิจ (Economic Self sufficiency Handicap) ได้แก่ ไม่มีรายได้ มีรายได้เล็กน้อยแต่ไม่พอเพียงกับการรักษาพยาบาล
4. องค์การฟื้นฟูสมารถภาพคนพิการระหว่างประเทศได้กำหนดประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4.1 ตาบอด มองเห็นเลือนลางหรือบางส่วน
4.2 มีความบกพร่องทางการได้ยิน
4.3 ปัญญาอ่อน
4.4 พิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการพิการทางสมองความพิการทางแขน ขา ลำตัว
4.5 มีความบกพร่องทางการพูด การใช้ภาษา
4.6 มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน
4.7 มีปัญหาความพิการซ้อน
4.8 เรียนหนังสือได้ช้า
4.9 ด้านตา
5. ทางการแพทย์มีการจัดประเภท เพื่อการบำบัด คือ
5.1 ความพิการทางแขน ขา ลำตัว
5.2 ความพิการทางหู
5.3 ความพิการทางสติปัญญา
5.4 ความพิการทางหู
5.5 ความพิการทางอารมณ์และจิตใจ
6. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 แบ่งประเภทของบุคคลที่มีความต้องการพิการเศษ เพื่อนการจดทะเบียนและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
6.1 คนพิการทางการมองเห็น
6.2 คนพิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
6.3 คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
6.4 คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
6.5 คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง หรือมีความเป็นเลิศทางสติปัญญา ซึ่งเรียกทั่ว ๆไปว่าเด็กปัญญาเลิศ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่ม ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ดี เพราะเป็นผู้ที่มีความารถทางสติปัญญาและ หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อเทียบกับระดับพัฒนาการในด้านต่างๆกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในช่วงอายุเดียวกันแล้วพบว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่มีการกำหนดไว้ ทั้งในด้านการรับรู้และความสามารถในการ แก้ปัญหา ด้านปริมาณและคุณภาพเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญาจะพบว่าระบสติปัญญาสูง กว่า 120ขึ้นไป
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง ด้านความสามารถ หรือมีปัญหาเด็กเหล่านี้มักจะเรียนรู้ได้ช้า และมีปัญหาในการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาด้านต่างๆ เป็นไปได้ไม่เท่าเทียมกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กเมื่อเทียบกับเด็กอายุในช่วงเดียวกัน ดังนั้นการจะให้การศึกษา หรือการจะพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ต้องอาศัยความรู้ความรู้ความเข้าใจและให้การช่วยเหลือเป็นพิศษตามความ เหมาะสม
กลุ่มเด็กที่มีความสามารถสูง หรือเป็นเลิศทางปัญญา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มทีาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และพัฒนาตนเองได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถทางสติปัญญา หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา จะพบระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป
กลุ่กเด็กที่มีความบกพร่อง ด้วยความสามารถ กลุ่มนี้จำแนกได้ 8 ประเภทคือ
  1. เด็กที่มีบกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กที่มีบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่มีบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  4. เด็กที่มีบกพร่องทางการพูดและภาษา
  5. เด็กที่มีพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  6. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  7. เด็กทีมีปัญหาทางออทสติก
  8. เด็กที่มีบกพร่องทางการเห็น
ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ
ในชั้นเรียนเรามักจะพบว่า นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีผลให้พฤติกรรมของเด็กมีความแตกต่างกันไปด้วยดังนั้นการเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะบางประการขงอเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะช่วยทำให้สามารถคาดการณ์ได้ ว่าเด็กได้พบเห็นนั้นน่าจะเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใดซึ่งจะมาสามารถจัด บริการทางการศึกษาและให้การช่วยเหลือเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพิเศษขอเด็กได้อย่างไรก็ตามลักษณะบางอย่างที่สังเกตได้นั้นยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นเด็กพิเศษ หรือไม่ที่สำคัญการที่จะบอกได้ว่าเป็นเด็กที่ต้องมีความพิเศษประเภทใดนั้นต้องได้รับการตรวจสอบวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเข้าใจลักษณะบางประการของเด็กที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆจะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อที่จะได้เตรียมให้การช่วย เหลือหรือส่งต่อเด็กไปเพื่อทำการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม
ลักษณะบางประการที่จะช่วยให้เข้าใจและสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็น เด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใดนั้น สังเกตได้ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ
  2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  3. ช่วงความไม่สนใจสั้น วอกแวก
  4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
  5. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  6. อดทน ต่อการรอคอยน้อย
  7. ทำงานช้า
  8. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
  9. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าการอ่าน
  10. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
  11. มักมีปัญหาทางการพูด
  12. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  13. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  14. ไม่สามารถปรับตัวได้
  15. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน
  16. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ ดังนี้
  1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
  2. มักตะแคงหูฟัง
  3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
  5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  6. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  7. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
  11. ไม่ชอบร้องเพลงไม่ชอบฟังนิทานแต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
  12. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
  13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าจากแวดล้อม
  14. ซน ไม่มีสมาธิ
  15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
  16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
  17. ไม่ตอบคำถาม
  18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องการใช้สายตา เช่นการเล่นช่อนหา
  3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  4. มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นใส้ ตาลาย คันตา
  5. ก้มศรีษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
  7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
  10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพที่พอ สังเกตได้ แบ่งเป็น 
1. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกาย มีดังนี้ 
1.1 แสดงความผิดปกติทางร่างกายเป็นที่น่าสังเกตอย่างเด่นชัด
1.2 มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
1.3 เท้าบิดผิดรูป
1.4 กระดูกสันหลังโค้งงอ
1.5 กลไกเคลื่อนไหวมีปัญหา
1.6 ท่าเดินคล้ายกรรไกร คือเข่าชิดปลายเท้าแยกจากกัน
1.7 สวมรองเท้าขาเหล็ก หรือเบรส
1.8 สูญเสียการควบคุมกลไกกล้ามเนื้อ หรือการประสานงานของร่างกาย
1.9 อาการเคลื่อนไหวสั่น หรือกระตุก
1.10 การทรงตัวของร่างกายทั้งสองข้างไม่สมดุลกัน
1.11 ความผิดปกตินั้นเกี่ยวกับหน้าที่การใช้งานตามปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ
1.12 เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า 
2. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางสุขภาพ มีดังนี้ 
2.1 มีอาการเหนื่อยง่าย
2.2 มีความผิดปกติจนไม่สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนได้ หรือถูกหัวเราะเยาะ กลายเป็นตัวตลก
2.3 มักกระสับกระส่าย และอยู่ไม่สุข
2.4 ชักช้าและขาดความคล่องแคล่ว
2.5 มักหายใจขัดหลังการออกกำลังกาย
2.6 ไอเสียงแห้งบ่อย
2.7 มักบ่นเจ็บหน้าอกภายหลังการทำงานโดยใช้ร่างกาย
2.8 หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากและ/หรือปลายนิ้ว
2.9 อาการไข้ต่ำๆเป็นหวัดบ่อยๆ
2.10 เกิดการชักอย่างกระทันหัน
2.11 ขาดสมาธิ หรือขาดความตั้งใจแน่วแน่
2.12 เป็นลมง่าย
2.13 บ่นว่าเจ็บภานในแขน ขาและ/หรือข้อต่อ
2.14 หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
2.15 ท่าเดินผิดปกติ
2.16 ศรีษะโคลงไปมา
2.17 ก้าวขึ้นบันไดด้วยความยากลำบาก
2.18 ท่ายืนผิดปกติ
2.19 บ่นว่าปวดหลัง
2.20 หกล้มบ่อย ๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
1. เมื่ออยู่ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
2. ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
3. ไม่พูดภายใน 2 ขวบ
4. หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
5. ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
6. หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในะระดับประถมศึกษา
7. มีปัญหาใรการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
8. ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พอ สังเกตได้แบ่งเป็น 
1.ลักษณะพฤติกรรมไม่สมวัยอันอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางบุคลิกภาพและการปรับตัวหากได้รับการแก้ไข มีดังนี้
1.1 หยิบสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก
1.2 กินอาหารยาก หรือเบื่ออาหาร
1.3 กินจุ พร่ำเพรื่อ
1.4 อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
1.5 ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา
1.6 พูดน้อยคำ
1.7 พูดไม่เป็นภาษาที่ฟังเข้าใจ
1.8 พูดไม่ชัด
1.9 พูดเสียงเบา ค่อยๆ
1.10 พูดตะกุกตะกัก
1.11 พูดหยาบคาย
1.12 ไม่ยอมพูดเฉพาะกับคนบางตน
1.13 ดูดนิ้ว
1.14 กัดเล็บ
1.15 ถอนผม
1.16 กัดฟัน
1.17 โขกศรีษะ
1.18 โยกตัว
1.19 เล่นอวัยวะเพศ
1.20 เรียบร้อยเกินไป
1.21 ติดคนมากเกินไป
1.22 เชื่อผู้อื่นมากเกินไป
1.23 สมยอม
1.24 ดื้อดึงผิดปกติ
1.25 ซนผิดปกติ
1.26 หงอยเหงาเศร้าซึม
1.27 ไม่ยอมช่วยตัวเองในสิ่งที่ทำได้
1.28 พัฒนาการต่างๆที่เคยทำได้ชงัก
1.29 ชอบพึ่งพาผู้อื่น
1.30 ไม่กล้าแสดงตนเอง หรือแสดงความคิดเห็น
1.31 ขาดความเชื่อมั่นหรือภาคภูมิใจในตนเอง
1.32 ท้อแท้สิ้นหวัง หมดกำลังใจ
1.33 อาย หลบ หวาดกลัว
1.34 แยกตัวเองไม่เข้ากลุ่ม
1.35 รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อย
1.36 เรียกร้องความสนใจ
1.37 ป้ายความผิดให้ผู้อื่น
1.38 ไม่ยอมรับผิด
1.39 กลัวโรงเรียน หรือไม่อยากมาโรงเรียน
1.40 อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า การถูกวิจารณ์ หรือต่อการเปลี่ยนแปลง
1.41 ระแวง
1.42 ย้ำคิดย้ำทำ
1.43 ก้าวร้าว
1.44 ต่อต้านสังคมด้วยวิธีต่างๆ
1.45 ดื้อเงียบ เช่น ทำไม่รู้ไม่ชี้ ทำเป็นไม่ได้ยิน
1.46 มีความประพฤติ จิตใจ การแต่งกาย และบทบาทไม่สมกับเพศของตนเองตาม พัฒนาการของวัย 
2. ลักษณะความผิดปกติทางความประพฤติที่เป็นปัญหา มีดังนี้
2.1 รู้วสึกว่าตัวเองมีปมเด่น
2.2 ฝ่าฝืนไม่เครพกฎระเบียบของหมู่คณะ
2.3ละเมิดสิทธิผู้อื่น
2.4 ก้าวร้าวทั้งทางด้านการกระทำและวาจา
2.5 ดื้อดึง ต่อต้าน
2.6 มักก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2.7 วางเขื่อน
2.8 ต้องการความยอมรับจากผู้อื่น
2.9 อดกลั้นต่อการถูกยั่วยุไม่ค่อยได้
2.10 ไม่ยอมรับผิด
2.11 ไม่เป็นมิตรนอกจากกับกลุ่มของพวกตน
2.12 อาฆาตพยาบาท
2.13 เกะกะระราน วางโต
2.14 ก่อให้เกิด หรือได้รับอุบัติเหตุบ่อยๆ
2.15 ลักเล็กขโมยน้อย
2.16 พูดปด
2.17 ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
2.18 หนีการเรียน
2.19 หนีออกจากบ้าน
2.20 ใช้สารเสพย์ติดต่างๆ
2.21 ผลการเรียนอยู่มนเกณฑ์ไม่ดีหรือด้อยลง 
3. ลักษณะความบกพร่องทางอารมณ์และอาการทางประสาท
3.1 ช่วงวิตกักกังวลจนเกินเหตุอยู่เสมอ
3.2 หวาดผวากลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล
3.3 ตกใจง่าย
3.4 เคียดแค้นอาฆาต
3.5 หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขี้โมโห บันดาลโทสะ
3.6 ขี้อิจฉาริษยา
3.7 เกี้ยวกราด มุทะลุ ก้าวร้าว
3.8 เจ้าอารมณ์
3.9 เจ้าน้ำตา
3.10 เศร้าซึม
3.11 หงอยเหงา
3.12 หมกมุ่นครุ่นคิด
3.13 ฝันกลางวัน
3.14 เหม่อลอย
3.15 ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า
3.16 กลัวโรงเรียน
3.17 ความเอาใจใส่ และสมาธิต่อการเรียนลดลง
3.18 ผลการเรียนด้อยลง
3.19 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
3.20 ติดผู้ใดผู้หนึ่งมากเป็นพิเศษ
3.21 ตัดสินใจอะไรไม่ได้
3.22 ท้อแท้ หมดหวัง
3.23 พะวงถึงแต่ตัวเอง
3.24 ตีโพยตีพาย
3.25 ตื่นเต้นง่าย
3.26 เก็บกดซ่อนเร้นความรู้สึก
3.27 ติดอ่าง
3.28 ฝันร้าย
3.29 นอนละเมอ
3.30 หลับยาก
3.31 พูดเพ้อเจ้อ
3.32 ย้ำคิดย้ำทำ
3.33อ่อนเพลียไม่มีแรง
3.34 เหนื่อยง่าย
3.35 เบื่ออาหาร
3.36 กลืนไม่ลง
3.37 หายใจไม่เต็มอิ่ม
3.38 จุกในคอ
3.39 แน่นหน้าอก
3.40 ถอนหายใจ
3.41 กระตุกหรือเกร็งตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.42 ทำเสียงในจมูกหรือในคอซ้ำๆซากๆ
3.43 เวียนหัว หน้ามืด
3.44 ปวดหัว
3.45 ปวดท้อง
3.46 ปวดข้อ
3.47 ปวดแขน ขา
3.48 ชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.49 ดูดนิ้ว
3.50 กัดเล็บ
3.51 กัดริมฝีปาก
3.52 ถอนผม
3.53 แกะเกาจนอาจเป็นผื่นแผลตามตัว
3.54 ปัสสาวะ อุจจาระบ่อยหรือราด 
ลักษณะของเด็กสมาธิสั้น
1. กลุ่มซนอยู่ไม่นิ่งหรือซนมากผิดปกติ(Hyperactivity)กลุ่มที่หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้บยั้งชั่งใจ มีลักษณะดังนี้
1 ไม่รู้จักระมัดระวัง ตัวเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2 ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ
3 ชอบวิ่ง หรือปืนป่าย อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย วุ่นวาย
4 พูดคุยมากเกินไป
5 มีความลำบากในการเล่นคนเดียวเงียบ
6 ลุกลี้ลุกลน
7 อารมณ์ร้อน เปลี่ยนแปลงง่าย
8 ขาดความอดทนในการรอคอย
9 ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง 
2. กลุ่มที่ไม่มีการซน แต่อยู่ไม่นิ่ง เป็นกลุ่มสมาธิที่บกพร่อง (Inattentive) มีลักษณะดังนี้
1มีปัญหาทางด้านกิจกรรมตามลำพังโดยเฉพาะคำสั่งยาวๆมีความลำบากในการฟัง คำสั่งให้ตลอดใจความ
2 มีความลำบากในการทำงาน หรือเล่นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุลวงไป
3 อุปกรณ์ เครื่องใช้เกี่ยวกับการเรียนต่างๆสูญหายบ่อยๆ
4 ไม่สนใจสิ่งเร้าสำคัญ แต่ไม่สนใจสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ
5 ขาดสมาธิ หรือความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดปลีกย่อย หรือเรียนวิชาที่น่าเบื่อหน่ายใช้เวลานาน
6 ขาดการวางแผนจัดการที่ดี (Disorganized)
7 มีความลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานานๆ(Iong mental effort)
8 มักขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ หรือลืมนัด
9 ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าต่างๆง่ายมาก วอกแวกง่าย เหม่อลอยหรือช่างฝัน 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
1. แยกความแตกต่างของขนาดและรูปทรงไม่ได้
2. จำตัวเลขไม่ได้
3. นับเลขไม่ได้
4. ใช้เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้เมื่อเรียนแล้ว
5. คำนวณผิด แม้จะใช้เครื่องหมายถูก
6. มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
7. เข้าใจคำศัพท์น้อยมาก
8. ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจคำสั่ง
9. ไม่ตั้งใจฟังครู
10. จำสิ่งที่ครูพูดให้ฟังไม่ได้
11. เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
12. มีปัญหาด้านการอ่านเช่นอ่านข้ามบรรทัดอ่านไม่ออกอ่านไม่ชัดไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน
13. มีปัญหาทางด้านการเขียน เช่น เขัยนหนังสือไม่เป็นตัว จำตัวอักษรไม่ได้ สะกดคำไม่ได้ เขียนบรรยายภาพไม่ได้เลย
14. สับสนเรื่องราว
15. กะขนาดไมได้
16. ไม่เข้าใจเกี่ยวกับระยะทาง
17. เรียงลำดับมากน้อยไม่ได้
18. เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
19. สับสนเรื่องซ้าย - ขวา หรือบน- ล่าง
20. มองเห็นภาพแต่บอกความแตกต่างของภาพไม่ได้
21. จำสิ่งที่เห็นไม่ได้
22. จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ และแยกเสียงไม่ได้
23. เคลื่อนไหวช้าผิดปกติ
24. เดินงุมง่าม
25. หกล้มบ่อย
26. กระโดดสองเท้าพร้อมกันไม่ได้
27. มีปัญหามในการทรงตัวขณะเดิน
28. หยิบจับสิ่งของไม่ค่อยได้จึงทำของหลุดมือบ่อย ซุ่มซ่าม
29.เคลื่อนไหวเร็วอยุ่ตลอดเวลา
30. อยู่นิ่งเฉยไม่ได้
31. รับลูกบอลไม่ได้
32. ติดกระดุมไม่ได้
33. เอาแต่ใจตนเองไม่ฟังความเห็นของเพื่อน
34. เพื่อนไม่ชอบ ไม่อยากให้เข้ากลุ่มด้วย
35. ช่วงความสนใจสั้นมาก
36. แต่งตัวไม่เรียบร้อยเป็นประจำ
37. ทำงานสกปรกไม่เป็นระเบียบ
38. ชอบหลบหน้าไม่ค่อยมีเพื่อน
39. หวงของ ไม่แบ่งปัน
40. ขาดความรับผิดชอบ เลี่ยงงาน
41. มักทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ
42. ส่งงานไม่ตรงเวลา
เด็กออทิสติก 
ลักษณะของเด็กออทิสติก มีดังนี้
1. อยู่ในดลกของตัวเอง คือไม่สนใจต่อความรู้สึก ของคนอื่น
2. ไม่สนใจที่จะเข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
3. ไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนๆ
4. ไม่ยอมพูด ส่วนการเล่นเสียงจะไม่มีแบบแผนแน่นอน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัน
5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆซากๆ
6. ยึดติดวัตถุ สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมักถือเดินไปเรื่อยๆ
7. ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์ รุนแรง และไร้เหตุผล
8. มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
9. ท่าทางไม่รู้สึกรับรู้ต่อสิ่งเร้ามี่มากระตุ้น
10. ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ใช้วิธีการดม การชิม เป็นต้น
เด็กพิการซ้อน 
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องซ้อน ที่พอสังเกตได้ดังนั้นก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องในประเภทต่างๆดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 7 มกราคม 2557

วันนี้การเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้นำเสนอรายการกลุ่พร้อมทำบทบาทสมมติ โดยที่กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง เด็กพิเศษ ชนิด CP


ความหมาย
            สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
          นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น
สาเหตุ
          อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี
โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่
1.1 ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์  เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์ เป็นต้น
          1.2 ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก
          1.3 ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมารดา เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ
          1.4 มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เด็กอาจตัวใหญ่ผิดปกติ ทำให้เกิดอันตรายจากการคลอดได้ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้มีเลือดออกในสมองของเด็กได้
          1.5 ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ (ตะกั่ว ปรอท บุหรี่ สุรา)
          1.6 ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก
          1.7 ความผิดปกติของโครโมโซม
          1.8 รก และสายสะดือไม่สมบูรณ์
2. ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)
นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่
2.1 เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ
2.2 ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ  เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ
2.3 ภาวะกลุ่มเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทำให้เด็กคลอดออกมาตัวเหลือง
2.4 การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับปวดระหว่างคลอด อาจเสี่ยงกับการขาดออกซิเจนในเด็กได้

3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก
3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น
3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง

อาการและอาการแสดง
            ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ


โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้
1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia)  พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด
1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
แบ่งได้ดังนี้ 
2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้

3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)
พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง 

ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ
1. ภาวะปัญญาอ่อน  เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ  พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40
การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง  เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา  รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย  เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ

2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

3. ด้านอารมณ์และสังคม  จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ  บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้  ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้  ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้

4. โรคลมชัก พบว่าประมาณ ร้อยละ 20-50 ของเด็กสมองพิการมีอาการชักร่วมด้วย การพยากรณ์ของโรคพบว่าค่อนข้างรุนแรง แต่ต้องแยกจากอาการชักที่เกิดในสัปดาห์แรกหลังคลอดแล้วไม่เกิดอีก หรือการชักจากไข้สูงในเด็กเล็กๆ ซึ่งพวกนี้การพยากรณ์ของโรคจะดีกว่า บิดาและมารดาควรพาเด็กมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กที่มีโรคลมชักต้องการการดูแลเป็นพิเศษและควริปรับยาเป็นระยะๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของเด็กในระยะนั้นๆ

5. ด้านการมองเห็น เด็กสมองพิการมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น  โดยพบว่ามีตาเหล่ได้บ่อยถึงร้อยละ 20-60 โดยเป็นตาเหล่เข้าในมากกว่า ถ้าทิ้งไว้นานตาจะรับภาพเพียงข้างเดียว ทำให้การรับความตื้นลึกของภาพผิดปกติด้วย ความผิดปกติอื่นๆ ทางตาที่อาจพบได้ในเด็กสมองพิการ คือไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก(nystagmus) ร่วมด้วย ส่วนเรื่องสายตาสั้นยาวนั้น พบได้มากถึงร้อยละ 25-75 เด็กจึงควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ในครั้งแรก และรับการตรวจในวัยเข้าเรียนอีกครั้ง

6. ด้านการได้ยิน เด็กสมองพิการอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยินเนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง  โดยเฉพาะการแยกเสียงความถี่สูง เมื่อมีปัญหาในหูชั้นกลางทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง  เช่น การพูดอย่างนิ่มนวล เมื่อพ่อแม่หรือผู้เกี่ยวข้องพูดด้วยเสียงระดับนี้ เด็กอาจะไม่ได้ยินต้องพูดซ้ำๆ เด็กจะได้ยินเมื่อมาพูดใกล้ๆ   ถ้าตะโกนอาจทำให้เด็กตกใจกลัว ร้องไห้ ทำให้มีผลต่ออารมณ์ของเด็กได้ 

7. การสื่อความหมาย เด็กสมองพิการจะมีความบกพร่องทางด้านภาษาพูด  โดยสาเหตุที่เด็กไม่สามารถควบคุมศีรษะได้  ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าอะไรทำให้เกิดเสียงนั้นๆ  และไม่สามารถเลียนแบบเสียง หรือติดต่อสื่อสารได้  ตัวอย่างของความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ หรือมีความยากลำบากในการพูด  ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้พูด หรือความผิดปกติในเนื้อสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับการสื่อสารและภาษา  รวมทั้งระดับสติปัญญาด้วย

8. ด้านกระดูก เด็กสมองพิการมักจะพบการหลุดออกจากที่(dislocation) หรือการเคลื่อนออกจากที่บางส่วน(subluxation) ของข้อต่อต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อสะโพก, ข้อไหล่ เป็นต้น อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด (scoliosis), การหดรั้ง และเท้าแปแต่กำเนิด(equinus) เป็นต้น

9. ด้านฟันและร่องปาก เด็กสมองพิการมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก เด็กไม่สามารถอ้าปากหรือบ้วนน้ำเองได้ ซึ่งถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากที่ดีหรือทำได้ไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้ บิดาและมารดาควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นระยะๆ


การดูแล/รักษา
          เนื่องจากเด็กสมองพิการมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดประกอบไปด้วยปัญหาด้านต่างๆ รวมกันหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ปัญหาด้านการใช้มือ ปัญหาด้านการดูดกลืน ปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์ รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมและครอบครัว
           การให้การดูแลรักษาเด็กสมองพิการนั้นควรได้รับการดูแลรักษาทั้งหมดในทุกๆ ด้าน โดยอาศัยความร่วมมือของเด็ก ครอบครัว และทีมงานผู้ให้การรักษา
          การได้รับความรักและการดูแลรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการมารับการรักษาเมื่อมีอายุมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคด้วย

การรักษา แบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดเริ่มให้การรักษาตั้งแต่แรกเกิด การรักษาไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติและความรุนแรงของพยาธิสภาพ  โดยโปรแกรมการรักษา จะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเริ่มจากการตรวจประเมินพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงท่า เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลักการรักษาทางกายภาพบำบัด ดังนี้
1.ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อต่างๆ  เมื่อพบว่าเด็กมีอาการเกร็งที่แขนและขา มากกว่าเด็กปกติ สามารถให้การรักษาโดย
1.1. การจัดท่าให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การจัดท่านอนหงาย  โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะและใต้สะบักให้อยู่ในท่างอเล็กน้อย และรองใต้เข่าให้มีการงอเล็กน้อย ให้มีการงอสะโพกและข้อเข่าเพื่อช่วยลดอาการเกร็งของขา
1.2. การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อและความยาวของกล้ามเนื้อ ทำได้โดย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดสั้นและนำมาซึ่งความผิดรูปของข้อต่อ เช่น การยืดแขน โดยใช้มือกางเหยียดนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วทั้งสี่ออก กระดกข้อมือหงายมือพร้อมเหยียดศอกจนเต็มช่วงการเคลื่อนไหว และการยืดขา โดยจับข้อเข่าให้งอเล็กน้อย อีกมือจับข้อเท้าให้กระดกขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่อยๆ ดันให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอ
2. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้
โดยการฝึกรูปการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ถูกต้องตามพัฒนาการที่ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เช่นการฝึกชันคอ พลิกตะแคงตัว การลุกขึ้นนั่ง การนั่งทรงตัว การคืบ การคลาน ยืน และเดิน  การฝึกการทรงตัว เช่นการฝึกทรงตัวบนบอลเพื่อส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการทรงท่า หรือการเดินบนทางแคบ เดินบนพื้นผิวที่มีลักษณะต่างกัน

3.การใช้เครื่องช่วยและอุปกรณ์พิเศษทางกายภาพบำบัด
เพื่อใช้ในการจัดท่าทาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทรงท่า และจำกัดท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น หมอนรูปลิ่ม อุปกรณ์ฝึกยืน หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น อุปกรณ์ฝึกเดิน

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
ได้แก่ การตรวจประเมินพัฒนาการด้านใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือเพื่อป้องกันข้อติดแข็งและการผิดรูปของข้อต่อ  กระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัส การจัดระเบียบการรับรู้และตอบสนอง เป็นต้น

การรักษาการแก้ไขการพูด
ได้แก่ การตรวจประเมินความสามารถทางด้านภาษาและการพูด ฝึกแก้ไขการพูด

การรักษาด้วยยา
-ยากิน สามารถลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่งแต่ผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน ยามีผลลดความเกร็งของกล้ามเนื้อทุกมัด ดังนั้นจึงไม่สามารถแก้ความผิดรูปของข้อได้
  -ยาฉีดเฉพาะที่ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวางเมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งได้ และลดความผิดรูปของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว ภายใน 3-4 เดือน จะหมดฤทธิ์ กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก เด็กสมองพิการ มีกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูปหลายมัด ถ้าจะแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั้งหมด ต้องใช้ปริมาณยามากและยาฉีดในกลุ่มนี้มีราคาแพงมาก สำหรับคนไข้ที่ข้อแข็งมาก การฉีดยาจะไม่ช่วยอะไร

การรักษาด้วยการผ่าตัด
-การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง, การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ
-การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสมในการผ่าตัดหรือไม่

การรักษาด้านอื่นๆ 
เช่น  การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง การใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้านจิตเวช
         
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา
เด็กสมองพิการชนิดเกร็งมักจะมีอุปกรณ์พิเศษเข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า (ankle foot orthoses-AFO) เพื่อป้องกันการยึดติดของเอ็นร้อยหวายในเด็กที่มีข้อเท้าจิกเกร็งลง และมีการเกร็งแอ่นของเข่าที่เป็นผลจากการจิกเกร็งลงของข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (walker)  รองเท้าตัด เป็นต้น